Table of Content

บทนำ

‘พลังงานสะอาด’ เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลก

Arnon Pattanaanunsuk

5 min read

  • 27 OCT 2021
  • Table of Content

    บทนำ

    Passive Way

    พลังงานจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ กำลังสร้างมลภาวะให้โลกใบนี้ สิ่งแวดล้อมในทุกมุมโลกกำลังถูกทำลาย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ ‘สภาวะโลกร้อน’

    และที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ พลังงานจากฟอสซิล เกิดจากการทับถมซากตะกอนนับพันล้านปี…เมื่อขุดขึ้นมาใช้กันทั่วโลก ย่อมต้องมีวันหมดไป

    รัฐบาลและนักอนุรักษ์วิทยาทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามหาทางแก้ไขโดยด่วน ทางออกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ หันมาใช้ ‘พลังงานสะอาด’ หรือ ‘พลังงานทดแทน’ ที่กลายมาเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ให้ก้าวเดินต่อไปอย่างยั่งยืน

    พลังงานสะอาด หรือ พลังงานทดแทน เป็นพลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สร้างมลภาวะที่เป็นพิษให้กับธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานทั่วไปได้ และมีอย่างไม่จำกัด

    ปัจจุบันผู้คนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลาย โดยน้ำมือของมนุษย์ ขณะที่เริ่มเห็นประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาด เพราะมีต้นทุนที่ถูกลง จากการพัฒนาของเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตอุปกรณ์ที่ทันสมัย

    เมกะเทรนด์ที่จะเติบโตในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า คือ ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลที่สร้างมลภาวะจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน มาเป็นพลังงานสะอาด

    การเคลื่อนไหวจากทั่วโลกกับเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’

    รัฐบาลหลายประเทศเริ่มให้ความสนใจพลังงานสะอาดกันมากขึ้นในตลอดหลายปีที่ผ่านมา และบางประเทศได้เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานจากฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานสะอาดในสัดส่วนที่สูงขึ้น 

    Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้นำประเทศกลับเข้าร่วมข้อตกลง Paris Agreement ภายใต้ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เพื่อที่จะจัดการกับปัญหาก๊าซเรือนกระจกอีกครั้ง หลังจากที่อดีตประธานาธิบดี Donald Trump ได้ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้ 

    ตามนโยบายของ Joe Biden มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เพื่อใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิล และมีเป้าหมายที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 

    นอกจากนี้สหภาพยุโรปได้มีแผนที่จะสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดผ่านกฎหมายต่างๆ อย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อย่างเยอรมนี มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง และจะใช้พลังงานสะอาด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 100% ในปี 2593

    ทางฝั่งเอเชีย อย่างอินเดีย วางเป้าหมายใช้พลังงานสะอาด ให้มีสัดส่วนมากถึง 450 กิกะวัตต์ ภายในปี 2573 เพื่อครอบคลุมกับการใช้งานในหลายพื้นที่ของประเทศ และไทย ร่างแผนพลังงานชาติ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เร่งขยายโครงการด้านพลังงานสะอาดให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% ในปี 2573

    การเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2561 ทั่วโลกได้นำพลังงานสะอาดมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า 6,586 เทระวัตต์ จาก 5 ประเภทที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ ชีวภาพ และใต้พิภพ 

    ส่วนประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการใช้พลังงานสะอาดมากที่สุดคือ จีน… 

    จีนกับเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ 

    จีนครองสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก นับแค่ปี 2563 คิดเป็นสัดส่วน 49.22% จากกำลังผลิตรวม 173.3 กิกะวัตต์ทั่วโลก 

    Xi Jinping ประธานาธิบดี ได้แสดงจุดยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 65% และทดแทนการใช้พลังงานปกติเป็นพลังงานสะอาด

    จีนได้จัดสรรงบประมาณสูงถึง 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงานสะอาดมาตั้งแต่ปี 2517 และมีเป้าหมายที่จะพาประเทศ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทั่วประเทศให้ได้ถึง 35% ภายในปี 2573

    ด้วยขนาดประชากรและศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ทำให้จีนกลายมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ด้านอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันจีนมีศักยภาพเพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากกว่าสหรัฐฯ ที่เป็นมหาอำนาจจากเศรษฐกิจของโลก

    นอกจากนี้จีนยังพัฒนาโครงการพื้นที่อาคารสีเขียว เน้นการพัฒนาสถาปัตยกรรมให้อนุรักษ์พลังงาน นี่จึงเป็น 1 เหตุผลที่ว่า ทำไม ‘พลังงานสะอาด’ จึงกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นเมกะเทรนด์ โดยเฉพาะจาก ‘จีน’ ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก 

    โอกาสลงทุนใน ‘พลังงานสะอาด’ ของจีน

    ปี 2564 จีนกำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าในห่วงโซ่การผลิตมหาศาลจากทั้งโลก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะชะงักงันในกระบวนการผลิต จีนจำเป็นต้องเพิ่มสำรองถ่านหินนับ 100 ล้านตัน เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในระยะสั้น

    แม้จะเป็นการกัดฟันยอมเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน แต่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2573 และสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)  หรือปล่อยไอเสียเป็นศูนย์ภายในปี 2603 ยังเป็นเป้าหมายที่จีนต้องเดินหน้าต่อ

    คุณจะเห็นภาพว่า ทำไมอุตสาหกรรม ‘พลังงานสะอาด’ กำลังเป็นเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และ ‘จีน’ คือ ผู้นำในเมกะเทรนด์ จึงเป็นที่มาของโอกาสลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) ธีมพลังงานสะอาดของจีน มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

    KraneShares บริษัทจัดการสินทรัพย์ ออกกองทุนรวมและ ETF ที่เน้นการลงทุนในจีน ได้ตั้ง ETF ธีมพลังงานสะอาดของจีน ขึ้นโดยใช้ชื่อว่า KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (KGRN) ซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

    KGRN เป็น Passive ETF ที่ลงทุนไปตามดัชนีอ้างอิง MSCI China IMI Environment 10/40 ประกอบด้วยบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ‘พลังงานสะอาด’ ของจีน โดยเน้นไปที่การใช้พลังงานทางเลือก การบริการจัดการน้ำยั่งยืน สิ่งปลูกสร้างประหยัดพลังงาน การป้องกันมลพิษ และการอนุรักษ์ประสิทธิภาพพลังงาน

    ทีมงาน Passive Way จะพาคุณไปรู้จักกับ 5 บริษัทใน KGRN ที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงที่สุดใน ETF แต่ละบริษัทมีบทบาทอย่างไรในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีน และทำธุรกิจอะไรบ้าง

    XPeng

    บริษัทผู้ออกแบบ พัฒนา และผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีน นอกจากอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว XPeng ยังให้บริการสัญญาการขาย การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า ระบบชาร์จไฟ การเช่ารถยนต์ และ บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันอีกด้วย

    XPeng เป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่จะกลายมาเป็นรถยนต์แห่งอนาคตที่ช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และเป็น 1 ในสินค้าที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีน

    งบการเงินรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงกำไรขั้นต้น% เปลี่ยนแปลง
    2563894.6+168.37%50.4+173.27%
    2562333.4N/A-68.8N/A
    ข้อมูล: Jitta.com ณ 20 ตุลาคม 2564 หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    BYD

    บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน โดยเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถโดยสาร รถบรรทุก ซึ่ง BYD ยังมีบทบาทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด โดยทำธุรกิจผลิตแผงโซลาร์เซลล์ และผลิตแบตเตอรีสมาร์ตโฟนให้หลายๆ แบรนด์อีกด้วย  

    BYD ได้ศึกษาและทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น และมีเป้าหมายชัดเจนในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในระยะยาว

    งบการเงินรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงกำไรขั้นต้น% เปลี่ยนแปลง
    2563185,861+30.08%35,425+53.29%
    2562142,877-3.50%23,110-3.80%
    2561148,066+16.77%24,024+0.81%
    ข้อมูล: Jitta.com ณ 20 ตุลาคม 2564 หน่วย: ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

    Nio

    บริษัทผู้ผลิตพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะของจีน ซึ่ง Nio พัฒนา AI (ปัญญาประดิษฐ์) ภายในรถยนต์ และพัฒนาระบบ Nio Pilot ที่ขับเคลื่อนเครื่องยนต์ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นการใช้เทคโนโลยียานยนต์ เพื่อปล่อยไอเสียเป็นศูนย์

    Nio ได้เสนอแผนการแก้ปัญหาด้านพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมาโดยตลอด จึงเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีบทบาทการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของจีน

    งบการเงินรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงกำไรขั้นต้น% เปลี่ยนแปลง
    25632,489+121.47%286.8+266.57%
    25621,124+56.12-172.2-362.82
    2561719.8N/A-37.2N/A
    ข้อมูล: Jitta.com ณ 20 ตุลาคม 2564 หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    China Conch Venture Holdings

    เป็นบริษัทให้บริการจัดการและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหลายประเทศ ประกอบด้วย จีน เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ China Conch Venture ทำโรงงานผลิตและจำหน่ายเครื่องผลิตพลังงานจากความร้อนใต้พิภพ 

    นอกจากนี้ China Conch Venture ทำธุรกิจเกี่ยวกับขนส่งสินค้า และออกแบบสร้างโครงการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีน

    งบการเงินรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงกำไรขั้นต้น% เปลี่ยนแปลง
    25637,839+36.87%2,600+32.70%
    25625,727+74.09%1,959+52.80%
    25613,290+33.08%1,282+48.08%
    ข้อมูล: Jitta.com ณ 20 ตุลาคม 2564 หน่วย: ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

    Xinyi Solar Holdings

    บริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลส์ชั้นนำของจีน โดย Xinyi Solar มีระบบการผลิตแผงโซลาร์เซลส์อัตโนมัติ และพัฒนาคุณภาพของแผงโซลาร์เซลส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผงกระจกสามารถดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์และผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น

    Xinyi Solar มีบทบาทในการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มในจีน และวางรูปแบบฟาร์มให้รองรับกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ Xinyi Solar เป็นบริษัทชั้นนำของจีนที่มีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนพลังงานฟอสซิล เป็นพลังงานสะอาดในระยะยาว

    งบการเงินรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงกำไรขั้นต้น% เปลี่ยนแปลง
    256312,316+35.40%6,584+68.31%
    25629,096+18.57%3,912+32.13%
    25617,672-19.48%2,960-13.05%
    ข้อมูล: Jitta.com ณ 20 ตุลาคม 2564 หน่วย: ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
    Passive Way

    ยานยนต์ ‘พลังงานสะอาด’ แห่งอนาคต

    คุณจะเห็นว่า บริษัทที่ KGRN มีสัดส่วนการลงทุนสูง คือ บริษัทพัฒนาและผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle – EV) เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ปล่อยไอเสีย เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง

    รถยนต์ไฟฟ้าไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้ของเหลวในระบบเครื่องยนต์ที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยกว่าเดิม เช่น น้ำมันเครื่อง และ น้ำหล่อเย็น จีนเป็นตลาดผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก 

    รัฐบาลจีนได้ให้เงินสนับสนุนมากกว่า 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อแทนที่รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงบนท้องถนนในปัจจุบัน โดยมุ่งหวังที่จะขยายกำลังการผลิตและตลาดผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังมีแผนส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 8 ล้านคัน เพื่อให้บริโภคชาวจีนได้ใช้ในปี 2568

    นอกจากนี้ จีนยังสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะกว่า 800,000 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

    ETF ‘พลังงานสะอาด’ ของจีนทั่วโลก

    นอกจาก KGRN ที่เป็น ETF ‘พลังงานสะอาด’ ของจีน กองเดียวในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมีผลตอบแทนรวมย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 43.14% ณ 30 กันยายน ส่วนตลาดหุ้นประเทศอื่นๆ มี ETF พลังงานสะอาดของจีนเช่นเดียวกัน

    ทีมงาน Passive Way สำรวจในตลาดหุ้นจีน พบ ETF ในประเภทเดียวกันถึง 9 กอง ลงทุนในหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า โดยให้ผลตอบแทนในช่วงครึ่งปีแรก 2564 เป็นที่น่าสนใจ ดังนี้

    • E Fund CSI New Energy ETF +45.45%
    • ChinaAMC CSI New Energy ETF +44.62%
    • Penghua CSI China Mainland Low Carbon Economy ETF +42.49%
    • Ping An CSI New Energy Automobile Industry ETF +41.93%
    • Huaan CSI New Energy Vehicles ETF +40.92%
    • Guotai CSI New Energy Vehicles ETF +39.06%
    • ChinaAMC CSI New Energy Automobile ETF +38.24%
    • Guotai Environmental Protection Industry 50 ETF +37.96%
    • Bosera CSI New Energy Vehicles ETF +37.59%

    สำหรับตลาดหุ้นฮ่องกงมี Global X China Clean Energy ETF เป็น Passive Fund โดยให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี Solactive China Clean Energy Index NTR ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 83.14% ณ 30 กันยายน

    นอกจากนี้บริษัทแม่ของ Global X ซึ่งก็คือ Mirae Asset ออก ETF ‘พลังงานสะอาด’ ของจีน ภายใต้ชื่อ Mirae Asset TIGER China Clean Energy Solactive ETF ซื้อขายในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และถือ Global X China Clean Energy ETF ในสัดส่วนประมาณ 39%

    นี่คือ ภาพรวมของเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ จากทั่วโลก ที่ทีมงาน Passive Way สรุปความเคลื่อนไหวจากทั่วโลกและพระเอกคนสำคัญ คือ จีน ประเทศที่มีการใช้พลังงานสะอาดมากที่สุดในโลก สะท้อนภาพอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีน ที่มีศักยภาพในการเติบโตตามโร้ดแมปของประเทศ ในเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในอีก 4 ทศวรรษข้างหน้า 

    ไม่ว่าจะมองไปทางไหน คุณจะเห็นทุกประเทศมีแผนการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะกลายมาเป็นพลังงานแห่งอนาคต…นั่นคือ ความเป็น ‘เมกะเทรนด์’ นั่นเอง

    นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนในเมกะเทรนด์ ‘พลังงานสะอาด’ รวมไปถึงโอกาสเติบโตของจีน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วง Early Adoption คือ หลายๆ ภาคส่วนเริ่มนำมาใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาด และเมื่อใช้กันอย่างแพร่หลาย พฤติกรรมการใช้พลังงานเปลี่ยนไป ต้นทุนพลังงานสะอาดจะลดลง และโครงสร้างพลังงานของแต่ละประเทศจะเปลี่ยนจากฟอสซิลเป็นพลังงานสะอาดได้อย่างแน่นอน


    หากคุณสนใจลงทุนใน ETF พลังงานสะอาดจีน (China Clean Energy) โดย Jitta Wealth เปิดให้ลงทุนใน ETF ต่างประเทศ ผ่านกองทุนส่วนบุคคล Thematic เลือก KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (KGRN) มาเป็นตัวแทนของธีมพลังงานสะอาดจีน คุณสามารถจัดพอร์ตเลือกธีมเองผ่าน Thematic DIY หรือให้ AI เลือกธีมจัดพอร์ตให้ผ่าน Thematic Optimize คุณสามารถศึกษาแนวทางการลงทุนได้ที่ https://jittawealth.com/thematic/CHINA-CLEAN-ENERGY  

    ลงทะเบียนรับความรู้การลงทุน passive

    รับความรู้การลงทุน passive ฟรี เพื่อเริ่มลงทุนอย่างสบายใจ กำไรอย่างยั่งยืน

    1. พลังงานสะอาด พลังในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดี https://www.principal.th/th/The-Energy-of-Driving-Good-Life-Quality
    2. พลังงานสะอาด… ตัวแปรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ https://thestandard.co/clean-energy-economic-driving-variables/
    3. ‘พลังงานสะอาด’ ดัน ‘จีน’ เป็นผู้นำโลก https://blog.jittawealth.com/post/thematic-etf-china-clean-energy-launch-2 
    4. (KGRN) KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF https://kraneshares.com/kgrn/
    5. What electric vehicle manufacturers can learn from China – their biggest market https://theconversation.com/what-electric-vehicle-manufacturers-can-learn-from-china-their-biggest-market-161536
    6. สวย ใส ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับ Energy Transparent Glass https://blog.pttexpresso.com/solar-energy-with-energy-transparent-glass/
    7. The Role of Electric Vehicles in Decarbonizing China’s Transportation Sector https://www.belfercenter.org/publication/role-electric-vehicles-decarbonizing-chinas-transportation-sector
    8. As Cars Go Electric, China Builds a Big Lead in Factories https://www.nytimes.com/2021/05/04/business/china-electric-cars.html?auth=link-dismiss-google1tap
    9. Canalys: China’s electric vehicle sales to grow by more than 50% in 2021 after modest 2020 https://www.businesswire.com/news/home/20210222005461/en/Canalys-China%E2%80%99s-electric-vehicle-sales-to-grow-by-more-than-50-in-2021-after-modest-2020
    10. Leading countries in installed renewable energy capacity worldwide in 2020 https://www.statista.com/statistics/267233/renewable-energy-capacity-worldwide-by-country/
    11. India’s 450GW renewable energy goal by 2030 doable, says John Kerry https://economictimes.indiatimes.com/industry/renewables/indias-450gw-renewable-energy-goal-by-2030-doable-says-john-kerry/articleshow/87160470.cms
    12. GPSC ปรับกลยุทธ์ใหม่ รับเทรนด์พลังงานสะอาดโลก ก้าวสู่ 1 ใน 3 บริษัทนวัตกรรมพลังงานในภูมิภาคอาเซียน https://www.gpscgroup.com/th/news/946/gpsc-sets-new-corporate-strategy-to-keep-up-with-the-global-clean-energy-trend-and-aims-to-be-among-the-top-three-energy-innovation-companies-in-the-asean-region
    13. Germany has promised to transform its electricity supply to 100 percent renewable energy by 2050. https://sustainabledevelopment.un.org/index.php?page=view&type=99&nr=24&menu=1449
    14. China green energy ETFs deliver best performance in first half https://www.ft.com/content/80ffb1e9-238c-4f23-a6e4-85c3efcf8a81 

    นักเขียนอิสระ ผู้สนใจเรื่องการเงิน การลงทุนแบบเน้นคุณค่า และการลงทุนระยะยาว