fbpx

เกมและอีสปอร์ต มีดียังไง เกี่ยวข้องอะไรกับ Metaverse?!

คุณเคยนับไหมว่า ผู้คนเริ่มรู้จักวิดีโอเกมกันตอนไหน และวิดีโอเกมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร 

Passive Way ขอพาทุกท่านย้อนกลับไป 50 ปีก่อน ในช่วงปี 2514-2515 ได้ถือกำเนิดวิดีโอเกมแรกของโลกที่มีชื่อว่า Pong และได้กลายมาเป็นเกมฮิตที่ผู้คนชอบเล่นกันมากในยุคนั้น

วิธีการเล่นเกม Pong คล้ายกับชื่อของตัวเกม เพียงแค่ต้องเลื่อนเคอร์เซอร์ไปรับลูกสี่เหลี่ยม เพื่อตีกลับไปอีกฝั่ง เหมือนกีฬาปิงปอง หากฝั่งใดทำแต้มได้มากกว่า จะเป็นฝ่ายชนะไป ซึ่งจากวันนั้นจนถึงตอนนี้เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่เกมอยู่คู่กับผู้คนทั่วโลกมาโดยตลอด

จากผลสำรวจพบว่า ประชากรโลกมากกว่า 40% เล่นเกม จากรายงานที่ถูกตีพิมพ์โดย DFC Intelligence บอกว่า มีประชากรโลกมากกว่า 3,100 ล้านคน เล่นเกมในช่วงปี 2563 จากจำนวนประชากรโลกทั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านคน

สังเกตได้ว่าอุตสาหกรรมเกมนั้นใช้เวลาเพียงแค่ 50 ปี ในการดึงดูดประชากรโลกกว่า 40% ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนมาโดยตลอด คุณเองจะเห็นการพัฒนาการของเกมเช่นเดียวกัน

ไม่ว่าโลกของเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปทางไหน อุตสาหกรรมเกมสามารถพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางนั้น เมื่อผู้คนหันมาเล่นเกมผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ตัวเกมที่พัฒนาออกมา ก็ต้องสามารถใช้งานได้ผ่านอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย

ขณะที่การเล่นจากเครื่องเกมคอนโซล ก็มีวิวัฒนาการมาตลอดหลายทศวรรษ จนถึงปัจจุบันก็ยังมีเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ๆ และยังได้รับความสนใจจากเกมเมอร์ทั่วโลก

การพลิกโฉมของวงการเกมด้วยอีสปอร์ต

การแข่งขันอีสปอร์ตได้ถูกบัญญัติว่าเป็น กีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย มีการแข่งตามประเภทของชอฟต์แวร์เกมต่างๆ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่างๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ยอดผู้ชมอีสปอร์ตเพิ่มมากขึ้นถึง 495 ล้านคนทั่วโลก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี ซึ่งเกินกว่าครึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้ชมที่ไม่ได้รับชมเป็นประจำอีกด้วย 

อีสปอร์ต จึงกลายเป็นอีกธุรกิจที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกมให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และมีเงินรางวัลเพิ่มขึ้นในทุกปี นักกีฬาอีสปอร์ตที่ดังที่สุดในโลกที่ชื่อว่า Lee Sang-hyeok สามารถทำเงินได้มากกว่า 1.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเวลาเพียงแค่ 7 ปี จากการแข่งขันอีสปอร์ตเท่านั้น และรายได้ของนักกีฬาอีสปอร์ตยังเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกปี

นอกจากนี้การแข่งขันอีสปอร์ตจากการเล่นเกมที่แตกต่างกันออกไปนั้น มีการเพิ่มเงินรางวัลให้มากขึ้นสำหรับผู้ชนะ เพื่อดึงดูดผู้เข้าแข่งขันรวมถึงผู้เล่นใหม่ๆ โดดเข้ามาเล่นเกมมากขึ้น จากสถิติได้แสดงว่า เงินรางวัลสำหรับการแข่งขันเกม Dota2 เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี โดยเงินรางวัลรวมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

จากข้อมูลเหล่านี้ คุณจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมเกมและการแข่งขันอีสปอร์ต เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาค่อนศตวรรษ และดูเหมือนว่า ธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนี้จะเติบโตมากกว่านี้อีกด้วย เพราะการเล่นเกม เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมผ่อนคลายของมนุษย์ 

ขณะเดียวกัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเกิดขึ้นตลอดเวลา ‘เกมและอีสปอร์ต’ ก็ยังแฝงตัวอยู่ในโลกดิจิทัลด้วย ในอนาคต พัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงและผักดันให้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตมีศักยภาพเติบโตมากขึ้นไปอีก และมอบประสบการณ์ที่ผู้เล่นไม่เคยได้สัมผัสที่ไหนมาก่อน โดยเทคโนโลยีที่กำลังร้อนแรงและถูกพูดถึงมาตลอด คือ Metaverse

Metaverse หนุน ‘เกมและอีสปอร์ต’ ได้อย่างไร

Metaverse คืออะไร ทำไมถึงได้กลายมาเป็นเมกะเทรนด์ของโลกได้ เรื่องราวของ Metaverse ไม่ใช่เรื่องใหม่ คนทำงานในแวดวงเทคโนโลยีมีความมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การสร้าง Metaverse ให้เกิดขึ้นจริงได้ ด้วยการพยายามที่จะเชื่อมโลกเสมือนกับโลกจริงอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยี Metaverse ได้แทรกซึมเข้าไปในอุตสาหกรรมต่างๆ และเริ่มถูกนำมาใช้จริง เช่น การประชุมในโลกเสมือนจริง การซื้อขายสินค้าในโลกเสมือนจริง หรือแม้แต่การซื้อขายที่ดินในโลกเสมือนจริง แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse มากที่สุด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคืออุตสาหกรรมเกม เพราะมันเป็นการสร้างโลกเสมือนจริงมาอยู่แล้ว

ภาพยนตร์เรื่อง Ready Player One ได้ขยายความเข้าใจเกี่ยวกับ Metaverse ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยมีเกมออนไลน์ที่เปรียบเสมือนโลกเสมือนจริงโดยใช้ชื่อว่า The Oasis เป็นโลกที่เหนือจินตนาการ โดยผู้เล่นจะเป็นอะไรก็ได้ และจะทำอะไรก็ได้ที่ไม่ขัดกับกฎของเกมในโลกเสมือนจริง

อุตสาหกรรมเกมเริ่มเดินหน้าในเทคโนโลยี Metaverse เพื่อรองรับผู้เล่นจำนวนมากบนโลกใบนี้ อย่างบริษัท Niantic ผู้พัฒนาเกม Pokémon Go มีแผนจะสร้าง Metaverse มูลค่ากว่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะพัฒนาเทคโนโลยีที่มาในรูปแบบแพลตฟอร์ม AR (Augmented Reality) บนพื้นฐานของแบบจำลอง 3 มิติ เพื่อให้โลกเสมือนจริงออกมาสมจริงมากที่สุด

นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Metaverse โดยตรงอย่าง Nvidia ที่ชิปของบริษัทกำลังเป็นที่ต้องการจากทั่วโลก ทำให้บริษัทมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมการ์ดจอและชิป ทาง Jensen Huang เป็น CEO จาก Nvidia มองว่า Metaverse จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น 

จากเหตุผลเหล่านี้ คุณจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า การเข้ามาของ Metaverse ผลักดันอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตมีความน่าสนใจมากขึ้น จากพื้นฐานเดิม คือ โลกเสมือนแค่ในเกม แต่ Metaverse จะทำให้ทุกๆ ด้านของโลกดิจิทัล เข้ามาอยู่ในโลกเสมือนได้เลย 

ยิ่งๆ หลายบริษัทเกม เริ่มเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี Metaverse แล้ว การลงทุนในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต เปิดโอกาสให้คุณได้ลงทุนในบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีล้ำอนาคตอย่าง Metaverse ด้วย 

และในอีก 50 ปีต่อไป อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต…ก็ยังคงอยู่บนโลกใบนี้ แต่เปลี่ยนรูปแบบไปทางไหน แล้ว Metaverse จะทำให้การเล่นเกมสนุกมากขึ้นอย่างไร ถึงจะยังมองภาพชัดๆ ไม่ได้ แต่ถ้ามันคือ เมกะเทรนด์…ลงทุนไว้ ไม่ตกขบวนการเติบโตในระยะยาวแน่นอน

5 ETF ที่ลงทุนใน ‘เกมและอีสปอร์ต’ 

ทีมงาน Passive Way จะพาคุณไปรู้จักกับ ETF 5 กองทุนที่ลงทุนในบริษัท ‘เกมและอีสปอร์ต’ โดยเราจะผ่าไส้ในของ ETF ทั้ง 5 กองทุน ว่ามีสัดส่วนการลงทุนอย่างไร รวมไปถึงนโยบายการลงทุน ค่าธรรมเนียม มูลค่า AUM (Assets Under Management) และผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 

ถ้าพร้อมแล้ว ไปรู้จักกับ ETF 5 กองทุน ที่จะพาคุณไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตโดยตรง และโอกาสในอนาคตของ Meteverse

เกมและอีสปอร์ต

ESPO – VanEck Video Gaming and eSports ETF

เป็น ETF ที่มีมูลค่า AUM สูงที่สุดในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต โดย ESPO จะลงทุนให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี MVIS Global Video Gaming and eSports Index ประกอบด้วยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเกมและอีสปอร์ตชื่อดังมากมาย โดย ESPO มีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศ ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา 41.28%
  • ญี่ปุ่น 20.12%
  • จีน 18.91%
  • ไต้หวัน 7.87%
  • เกาหลีใต้ 5.13%
ETFรูปแบบการลงทุนค่าใช้จ่ายรวมมูลค่า AUMผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี
ESPOPassive0.55%569.8-10.22%
หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลจาก etfdb ณ 11 มกราคม 2565

HERO – Global X Video Games & Esports ETF

เป็น ETF ที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด และลงทุนล้อไปตามดัชนี Solactive Video Games & Esports Index รวบรวมบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอเกม และบริษัทที่เป็นเจ้าของหรือดำเนินการการแข่งขันอีสปอร์ต นอกจากนี้ HERO ยังลงทุนในบริษัทที่ผลิตฮาร์ดแวร์ให้ผู้เล่นได้อัปเกรดอุปกรณ์เล่นเกมด้วย สำหรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศของ HERO มีดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา 30.8%
  • ญี่ปุ่น 24.9%
  • เกาหลีใต้ 16.1%
  • จีน 9.5%
  • สวีเดน 5.6%
ETFรูปแบบการลงทุนค่าใช้จ่ายรวมมูลค่า AUMผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี
HEROPassive0.50%398.6-16.17%
หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลจาก etfdb ณ 11 มกราคม 2565

BETZ – Roundhill Sports Betting & iGaming ETF

เป็น ETF ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้คุณได้ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพนันในกีฬา และ iGaming โดยผลตอบแทนจะล้อไปตามดัชนี Roundhill Sports Betting & iGaming Index ซึ่งเป็นดัชนีแรกของโลก ที่รวมเว็บไซต์หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพนันกีฬา และบริษัทที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง BETZ มีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศ ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา 34.0%
  • มอลตา 15.0%
  • สหราชอาณาจักร 10.0%
  • ออสเตรเลีย 9.5%
  • สวีเดน 7.7%
ETFรูปแบบการลงทุนค่าใช้จ่ายรวมมูลค่า AUMผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี
BETZPassive0.75%272.6-14.46%
หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลจาก etfdb ณ 11 มกราคม 2565

BJK – VanEck Gaming ETF

อีก ETF ที่จะเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพนัน เช่น คาสิโน โรงแรมคาสิโน การพนันกีฬาออนไลน์ ลอตเตอรี่ iGaming และอุปกรณ์เล่นเกม โดยจะลงทุนให้ล้อไปกับดัชนี MVIS Global Gaming Index โดย BJK เป็นอีก ETF ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพนันเช่นเดียวกับ BETZ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศ ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา 46.73%
  • ออสเตรเลีย 12.74%
  • สวีเดน 9.52%
  • ไอร์แลนด์ 7.36%
  • จีน 7.00%
ETFรูปแบบการลงทุนค่าใช้จ่ายรวมมูลค่า AUMผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี
BJKPassive0.65%91.7-8.37%
หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลจาก etfdb ณ 11 มกราคม 2565

NERD – Roundhill BITKRAFT Esports & Digital Entertainment ETF

เป็น ETF ที่ออกแบบมาให้คุณได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอีสปอร์ต และสื่อบันเทิงดิจิทัล โดยให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี Roundhill BITKRAFT Esports Index ที่รวบรวมบริษัทที่อยู่เบื้องหลังวิดีโอเกมชื่อดังระดับโลก และทีมอีสปอร์ตชื่อดังมากมายภายในการแข่งขันอีสปอร์ต NERD มีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเทศ ดังนี้

  • สหรัฐอเมริกา 26.8%
  • จีน 18.8%
  • ญี่ปุ่น 11.9%
  • เกาหลีใต้ 11.4%
  • สิงคโปร์ 5.9%
ETFรูปแบบการลงทุนค่าธรรมเนียมมูลค่า AUMผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี
NERDPassive0.50%57.7-24.60%
หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลจาก etfdb ณ 11 มกราคม 2565

จากผลประกอบการที่ติดลบในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากการปรับตัวของราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งในปี 2563 หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้บริษัทเกม ซึ่งอยู่กระแสของโลกดิจิทัลได้รับผลประโยชน์ด้วย

แต่ในปี 2564 ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหลายๆ ประเทศ ปรับลดลงมาจากภาวะตลาดหุ้น แรงเทขายทำกำไร ข่าวสาร และสถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงผลกระทบจากปัจจัยเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของโลก ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากที่สุด คิดเป็น 69% ของงบประมาณการวิจัยและพัฒนาทั่วโลก

อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง แต่ละบริษัทในได้พัฒนาเกมใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เล่นเกมที่ขยายตัวทั่วโลก ทุกวันนี้เพียงแค่สมาร์ตโฟนเครื่องเดียวก็สามารถเข้าถึงเกมและการแข่งขันอีสปอร์ต ที่กำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ทั่วโลก

นอกจากนี้บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์ต่างมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ชิปขาดแคลนทั่วโลก แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นเกี่ยวกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่พยายามเพิ่มกำลังการผลิตชิ้นส่วนให้ตอบสนองต่อความต้องการผู้ใช้งานเทคโนโลยีทั่วโลก รวมไปถึงเหล่าเกมเมอร์อีกมหาศาล ที่จำเป็นต้องอัปเกรดอุปกรณ์เล่นเกมของตัวเอง ให้รองรับเกมใหม่ๆ อยู่เสมอ

ในอนาคตอุตสาหกรรมเกมยังคงมีแนวโน้มที่ดี และสามารถเติบโตได้มากกว่าในปัจจุบัน ยิ่งเทคโนโลยี Metaverse จะเข้ามาหนุนอุตสาหกรรมเกมมากขึ้น เป็นไปได้ว่า เราจะได้เห็นเกมในรูปแบบใหม่ๆ ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถรู้สึกและเข้าถึงโลกเสมือน และมอบประสบการณ์ที่ผู้เล่นเกมไม่เคยสัมผัสมาก่อน 

ด้วยระยะเวลาเพียง 50 ปี วิดีโอเกมดึงดูดผู้เล่นมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลกมากแล้ว คุณลองคิดดูว่า ในอีกครึ่งศตวรรษ โลกดิจิทัลจะพา ‘เกมและอีสปอร์ต’ เติบโตไปในทิศทางไหน และจะดึงดูดผู้เล่นเข้ามาได้อีกมากเท่าไร แล้ว Metaverse จะเป็นตัวเร่งให้มูลค่าตลาดเกมและอีสปอร์ตไปต่อได้อีกไกลแค่ไหน 

นี่คือ เหตุผลทั้งหมดที่เป็นคำตอบให้คุณแล้วว่า… ทำไมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตถึงน่าสนใจ


หากคุณสนใจจัดพอร์ตลงทุนใน ETF ต่างประเทศในรูปแบบ Thematic Investment สำหรับธีมเกมและอีสปอร์ต Jitta Wealth ได้เลือก HERO – Global X Video Games & Esports ETF ที่จะพาคุณไปลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกม โดยให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี Solactive Video Games & Esports Index จัดพอร์ตลงทุนเองได้สูงสุด 5 ธีมผ่าน Thematic DIY หรือให้ AI เลือกธีมจัดพอร์ตให้ผ่าน Thematic Optimize สามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ https://jittawealth.com/thematic/GAMES-ESPORT


อ้างอิง

  1. Gaming: Study reveals how much of the global population now plays video games – https://www.givemesport.com/1653435-gaming-study-reveals-how-much-of-the-global-population-now-plays-video-games
  2. Leading eSports tournaments worldwide as of April 2021, ranked by overall prize pool – https://www.statista.com/statistics/517940/leading-esports-tournamets-worldwide-by-prize-pool/
  3. VanEck Vectors Video Gaming and eSports UCITS ETF (ESPO) – https://www.vaneck.com/uk/en/espo/
  4. Global X Video Games & Esports ETF (HERO) – https://www.globalxetfs.com/funds/hero/
  5. BETZ Sports Betting ETF | Roundhill Investments – https://www.roundhillinvestments.com/etf/betz/
  6. BJK – VanEck Gaming ETF | Overview – https://www.vaneck.com/us/en/investments/gaming-etf-bjk/
  7. NERD Esports ETF | Roundhill Investments – https://www.roundhillinvestments.com/etf/nerd/
  8. The History Of Pong: Avoid Missing Game to Start Industry – https://www.gamasutra.com/view/feature/3900/the_history_of_pong_avoid_missing_.php?print=1
  9. Top 5 Gaming ETFs – https://etfdb.com/etfs/industry/gaming/#etfs&sort_name=assets_under_management&sort_order=desc&page=1
  10. Just how big is esports? Here are 10 facts that illustrate its growth https://britishesports.org/general-esports-info/just-how-big-is-esports-here-are-10-facts-that-illustrate-its-growth/ 

อ่านบทความธีมเมกะเทรนด์ที่เกี่ยวข้อง

‘พลังงานสะอาด’ เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลก

‘จีโนมิกส์’ คืออะไร ‘ETF จีโนมิกส์’ ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง

ทางเลือกลงทุนแบบ PASSIVE