ร่างกายมนุษย์ถูกกำหนดด้วยพันธุกรรมมาแล้วว่า มีโรคอะไร แพ้ยาตัวไหน แพ้อาหารอะไรบ้าง
ดังนั้นทุกคนจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือมีอาการไม่เท่ากัน…
แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรู้ดีว่า ถ้าเราสามารถถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ออกมาได้ แพทย์จะวินิจฉัยโรคได้ตรงจุด เลือกวิธีการรักษาได้ถูกวิธี Winssol ชี้ให้เห็นว่าเว็บไซต์จำนวนมากมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่สำคัญกว่านั้น คือ วงการสาธารณสุขโลกจะพัฒนาไปอีกขั้น โรคที่รักษายาก…ก็สามารถทำให้หายขาดได้
จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘จีโนมิกส์’ (Genomics) เป็นการใช้นวัตกรรมเพื่อมาถอดรหัสพันธุกรรม บทบาทสำคัญไม่ได้มีแค่วงการสาธารณสุขเท่านั้น ยังสามารถต่อยอดไปการเกษตร พัฒนาสายพันธุ์พืชเศรษฐกิจ รวมไปถึงวงการสัตวแพทย์ รักษาโรคร้ายแรงในสัตว์ และพัฒนาสายพันธุ์ในสัตว์เป็นต้น
‘จีโนมิกส์’ ผู้พลิกโฉมวงการสาธารณสุข
บทความนี้ เราจะโฟกัสไปที่บทบาทของ ‘จีโนมิกส์’ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้วงการสาธาณสุขทั่วโลก เป็นศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
โดยจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ คือ Human Genome Project เริ่มขึ้นเมื่อปี 2533 เป็นโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ มีเป้าหมายถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ มาทำ DNA Sequencing (ลำดับจีโนม) และ DNA Mapping (แผนที่จีโนม)
Human Genome Project ยังเป็นโครงการร่วมมือทางชีวภาพครั้งใหญ่ของโลก ได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ใช้เวลาถึง 13 ปี โครงการถึงเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2546
โครงการนี้เพิ่งประกาศความสำเร็จในการทำวิจัยถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เดือนพฤษภาคม 2564 นี้เอง และมีต้นทุนในการค้นคว้าวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ 1 คนกว่า 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [1]
กาลเวลาผ่านไป ด้วยวิวัฒนาการเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน การถอดรหัสพันธุกรรมใช้เวลาลดลงมาเหลือเพียง 2 วัน พร้อมกับค่าใช้จ่าย 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเหลือเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐในอนาคต [2]
ผลลัพธ์มนุษยชาติได้คือ ความเข้าใจในโรคที่เกิดขึ้นและอาการเฉพาะตัวบุคคลจากการถอดรหัสพันธุกรรมนั่นเอง ยิ่งเมื่อค่าใช้จ่ายถูกลง แพทย์และคนไข้จะเข้าถึงการวิเคราะห์ DNA ได้ง่ายขึ้น
หลังจากที่วงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ประสบความสำเร็จไปจาก Human Genome Project สามารถทำ DNA Sequencing และ DNA Mapping แล้ว สิ่งที่ต่อยอดตามมาคือ Gene Editing หรือการแก้ไขยีน
การพัฒนาเทคนิค Gene Editing เกิดจากนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้แก่ Emmanuelle Charpentier ชาวฝรั่งเศสและ Jennifer Doudna ชาวอเมริกัน ที่พัฒนา CRISPR-Cas9 (คริสเปอร์-แคสไนน์) เป็นระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรียในการกำจัดสายดีเอ็นเอแปลกปลอม ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส
CRISPR เป็นการลำดับจีโนม ส่วน Cas9 เป็นเอนไซม์ตัดสาย DNA ทำให้นักวิจัยสามารถสำดับดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้
ความน่าสนใจของ CRISPR-Cas9 คือ แก้ไขรหัสจีโนมให้ถูกต้อง นำส่งเข้าไปในเซลล์ของผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรมได้ หรือทำลายรหัสจีโนมของเชื้อไวรัส HIV ไม่ให้เซลล์ในภูมิคุ้มกันติดเชื้อเพิ่ม [3]
สะท้อนว่า ตั้งแต่ความพยายามในการถอดรหัสพันธุกรรม เริ่มจาก DNA Sequencing มาทำ DNA Mapping และพัฒนาที่ต่อยอดตามมาที่ Gene Editing ส่งผลให้วงการสาธารณสุขทั่วโลก ได้ค้นพบวิทยาการเพิ่มขึ้นมากมาย รวมทั้งหาทางออกให้โรคที่รักษายากและโรคทางพันธุกรรมได้ดียิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ
สำหรับ CRISPR-Cas9 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ท่านได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมีในปี 2563 [4] นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานให้เกิดการพัฒนากระบวนการรักษาอื่นๆ เช่น NTLA-2001 ที่ยังอยู่ในขั้นตอนทดลองทางคลินิกเฟสแรก
ปี 2563 เทคนิค CRISPR-Cas9 กลายเป็นกลุ่มที่เติบโตอย่างโดดเด่นและมีสัดส่วนรายได้สูงถึง 40.2% ในกลุ่มจีโนมิกส์ทั่วโลก สามารถต่อยอด Gene Editing ในเทคนิคอื่นๆ ได้ เช่น Meganuclease TELEN และ ZFN [5]
วิวัฒนาการของจีโนมิกส์ที่เกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน กำลังเกิดเทรนด์ที่น่าสนใจคือ Precise Medicine หรือการแพทย์แบบแม่นยำ คือ การออกแบบแนวทางการรักษา การให้ยาหรือวัคซีน รวมไปถึงแนวทางการบำบัดที่เฉพาะตัวคนไข้มากขึ้น จากการถอดรหัสพันธุกรรมและวินิจฉัยโรคไปถึงระดับ DNA ของมนุษย์นั่นเอง
เมื่อก่อนแพทย์อาจจะวินิจฉัยโรคตามตำราและใช้กระบวนการวัดผลจากแล็บ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยกับคนไข้ที่เป็นโรคเดียวกันทุกคน แต่ ‘จีโนมิกส์’ จะเปลี่ยนโฉมวงการสาธารณสุขและบริการสุขภาพ ให้อยู่ในรูปแบบเฉพาะบุคคล ตอบโจทย์การรักษาและการบำบัดได้อย่างตรงจุด
นอกจากนี้โรคไม่ติดต่อกลุ่ม NCD (Non-communicable Disease) ที่ไม่มีใครอยากพบเจอ อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง และอ้วนลงพุง จะมีแนวโน้มรักษาให้ดีขึ้น ไปจนถึงหายขาดได้
สิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ รวมไปถึงนวัตกรรมจากจีโนมิกส์ เช่น ยารักษาโรค NCD วัคซีน mRNA และแนวทางการรักษาบำบัดโรคผ่านการถอดรหัสพันธุกรรมอย่าง NTLA-2001 ด้วย
คาดการณ์ว่า ตลาดกลุ่มจีโนมิกส์จะมีมูลค่าสูงถึง 35,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2567 เติบโตเฉลี่ย 13.5% ต่อปี จากมูลค่าตลาดสิ้นปี 2563 ที่ 18,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [6]
โอกาสลงทุนใน ‘ETF จีโนมิกส์’
ETF (Exchange Traded Fund) เป็นสินทรัพย์ทางการเงินอย่างหนึ่ง สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้น แต่ต้องการกระจายความเสี่ยงลงทุนในบริษัทที่อยู่กลุ่มธุรกิจเดียวกัน
เทรนด์การลงทุนใน ETF รายธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เริ่มมีภาพชัดเจนมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากคำว่า Thematic Investment หรือธีมการลงทุน ธุรกิจ ‘จีโนมิกส์’ เป็น 1 ในธีมการลงทุนที่มีอนาคตไกล ที่กำลังจะพลิกโฉมวงการสาธารณสุขทั่วโลก
Passive Way ได้รวบรวม ‘ETF จีโนมิกส์’ ที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ แหล่งรวม ETF ที่น่าสนใจ ลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกนับพันกอง ซึ่งจีโนมิกส์จะถูกจัดรวมในกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ จะครอบคลุมตั้งแต่การทำวิจัย พัฒนา ผลิต รักษา และบำบัดในกระบวนการลำดับจีโนม แผนที่จีโนม และแก้ไขจีโนมในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก
จาก ETF จีโนมิกส์ประมาณ 20 กอง Passive Way คัดออกมา 7 กองจากหลายบริษัทบริหารสินทรัพย์ระดับโลก ที่มีมูลค่า AUM (Assets Under Management) สูงและผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ณ 30 มิถุนายน 2564 น่าสนใจ
จะเห็นได้ว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนของ ETF ทั้ง 7 กองมีการเติบโตที่สูง ส่วนหนึ่งเป็นราคาหุ้นในกลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพ (Healthcare) ผลิตยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับช่วง Covid-19 ระบาดทั่วโลก
บริษัทที่ผลิตวัคซีน mRNA ที่เป็นนวัตกรรมจีโนมิกส์อย่าง Pfizer BioNTech และ Moderna ได้รับยอดสั่งซื้อมหาศาลจากทั่วโลก หลังเห็นประสิทธิภาพของวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส Covid-19 กลายพันธุ์
ยิ่งไวรัส Covid-19 ยังอยู่กับเรา ความต้องการวัคซีนก็ไม่หยุดเพียงแค่ 2 โดสแน่นอน รวมทั้งความพยายามจากบริษัทเหล่านี้ ในการพัฒนาวัคซีน mRNA เพื่อป้องโรคระบาดอื่นๆ อีกในอนาคต
ที่สำคัญไปกว่านั้น…การเจ็บป่วยอยู่คู่กับมนุษย์ ไม่ว่าใครก็ต้องการระบบสาธารณสุขที่ดีและมีคุณภาพ ต่อให้กาลเวลาผันผ่านไปอีกกี่สิบปีในอนาคต กลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพจะอยู่คู่กับผู้คนทั่วโลกอย่างแน่นอน
ทีนี้…คุณเห็นโอกาสและอนาคตของธีมธุรกิจจีโนมิกส์แล้วหรือยัง
หากคุณสนใจจัดพอร์ตลงทุนใน ETF แบบ Thematic Investment สำหรับธีมจีโนมิกส์ (Genomics) ทาง Jitta Wealth มีในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคล Thematic ที่ให้คุณเลือกจากธีมการลงทุนนับสิบธีม เช่น พลังงานสะอาดจีน เทคโนโลยีท่องเที่ยว กัญชา อีคอมเมิร์ซ หรือคลาวด์ ที่ให้คุณสามารถจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงได้สูงสุดไม่เกิน 5 ธีม
ลองอ่านหลักการ รวมไปถึง ETF ต้นทางที่เลือกลงทุน และธีมอื่นๆ ที่คุณสนใจได้ที่นี่ https://jittawealth.com/thematic/all
ลงทะเบียนรับความรู้การลงทุน passive
รับความรู้การลงทุน passive ฟรี เพื่อเริ่มลงทุนอย่างสบายใจ กำไรอย่างยั่งยืน
- Human Genome Project https://en.wikipedia.org/wiki/Human_Genome_Project
- เปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น พร้อมเพิ่มความมั่งคั่งด้วย Genomics ETF https://www.prachachat.net/finance/news-592567
- CRISPR/Cas9 ความหวังใหม่สำหรับการรักษาโรคต่างๆ ในระดับสารพันธุกรรม https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/364/CRISPR/Cas9/
- CRISPR gene editing https://en.wikipedia.org/wiki/CRISPR_gene_editing
- Genome Editing Market Size, Share & Trends Analysis Report By Technology https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/genome-editing-market
- A Comprehensive Guide to Genomic ETFs https://www.nasdaq.com/articles/a-comprehensive-guide-to-genomic-etfs-2021-07-09