Table of Content

บทนำ

QVI: ความน่าเชื่อถือของ Magic Formula Investing (ตอนที่ 2)

Yoyoway

5 min read

  • 28 FEB 2016
  • Table of Content

    บทนำ

    ปัญหาของ Magic formula อย่างหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่พอสมควรก็คือ มีคนให้ข้อสังเกตว่า ผลตอบแทนระดับ 30% ต่อปีที่ในหนังสือเขียนนั้นขาดความน่าเชื่อถือ

    มีหลายคนพยายามสร้าง port จำลองโดยใช้สูตรตามหนังสือ แล้วทำ Backtest เพื่อทดสอบผลก็พบว่าตัวเลขผลตอบแทนที่ได้นั้นต่างจากค่าในหนังสือมาก ผมจะยกตัวอย่างมาให้ดูซักตัวอย่าง

    อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งจากเวป http://greenbackd.com/2012/05/07/how-to-beat-the-little-book-that-beats-the-market-an-analysis-of-the-magic-formula/

    ค่าใน column แรก MF 50mm คือจำลอง port ลงทุนโดยกำหนดให้ Market cap ขั้นต่ำอยู่ที่ 50 ล้านเหรียญตามที่หนังสือ บอกไว้ ผลตอบแทนที่ได้คือ 21.42% ซึ่งก็ชนะตลาดอยู่ 10% แต่ก็ยังได้น้อยกว่าค่าในหนังสือที่ 30.8% อยู่พอสมควร

    แต่ในเชิงการลงทุนจริงๆ แล้ว Market cap ระดับ 50 ล้าน usd ก็ยังถือว่าต่ำเกินไปสำหรับกองทุนหรือคนที่มีเงินเยอะๆ การซื้อขายหุ้นที่มีขนาดเล็กขนาดนี้ปกติจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการซื้อหุ้นขนาดใหญ่ที่มี vol การซื้อขายหุ้นที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นค่าคอม หรือ slippage (ด้วย vol ที่ต่ำของหุ้น bid ask จะห่างกันมากและอาจจะหุ้นให้ซื้อจำนวนน้อย เวลาเราซื้อหุ้นราคาที่เราได้จนครบจำนวนจริงๆ มักจะสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็นพอสมควร อันนี้เค้าเรียกว่าว่า slippage)

    เพื่อทำให้ตัดปัญหาเรื่องพวกนี้ออกไป เค้าก็เลยสร้าง port จำลองขึ้นมาอีกอันโดยเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นที่มี Market cap ใหญ่เกิน Percentile ที่ 80 ขึ้นไป ก็ได้ผลออกมาเป็นตาม column ที่ 2 คือได้ผลตอบแทนที่ 13.8% สูงกว่า s&p500 2.4% และต่ำกว่าในหนังสือพอสมควร และด้วยผลตอบแทนที่ชนะตลาดเพียง 2.4% การลงทุนด้วยสูตรนี้ก็อาจจะไม่คุ้มค่าถ้าเอาไปเทียบกับการลงทุนในกองทุน Low cost index fund เพราะการที่เราลงทุนหุ้นรายตัวนั้นมันจะมีต้นทุนแฝงอยู่คือค่าคอมและ slippage รวมถึงภาษี capital gain (ในกรณีที่เป็นนักลงทุนอเมริกา พอดีว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลหุ้นอเมริกาผมก็ถือว่าถ้าจะวัดให้แฟร์ก็ต้องคิดว่าเราเสีย tax ด้วย) รวมถึงความยุ่งยากในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

    ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ได้จากการที่เราสร้าง port โดยมีข้อจำกัดด้าน Market cap ของหุ้นที่ต่างกันคือ ในกรณีที่เรารวมหุ้นขนาดเล็กเข้าไปในตัวเลือกด้วย ผลตอบแทนที่ได้ก็จะดี ในขณะที่ถ้าเราจำกัดว่าจะเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ผลตอบแทนที่ได้ก็จะลดลง ผมเชื่อว่าเหตุผลก็คือ หุ้นขนาดเล็กนั้นมีคนสนใจน้อย ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นคุณภาพดี ราคาไม่แพงได้ง่ายกว่าหุ้นขนาดใหญ่ที่ผู้เล่นส่วนใหญ่คือสถาบันที่มีการวิเคราะห์หุ้นแบบเจาะลึก

    เพราะฉะนั้นการเอามาประยุกต์ใช้งานจริงก็ยังพอมีความเป็นไปได้ เพราะเอาเข้าจริงๆนักลงทุนรายย่อยแบบเรา ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นตัวใหญ่ๆเท่านั้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมติว่า นักลงทุนมีเงิน 10 ล้านบาท เอาเงินทั้งหมดมาลงทุนด้วยสูตรนี้ เราก็จะแบ่งเงินเท่าๆ กัน ไปซื้อหุ้น 30 ตัว หรือซื้อหุ้นตัวละ 3 แสนกว่าบาท สมมติเรากำหนด Market cap ไว้ที่ 50 ล้าน usd หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1750 ล้านบาท ผมว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องเท่าไหร่นัก และผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้ประมาณ 10% นั้นน่าจะครอบคลุมต้นทุนแฝงอื่นๆได้

    แม้เรื่องผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้ถึง 18% ต่อปีในหนังสือนั้นจะมีคนพูดว่าตัวเลขนี้ไม่น่าเชื่อถือ แต่ทุกแหล่งข้อมูลที่มีการ Backtest เท่าที่ผมอ่านเจอเค้าก็ยอมรับว่าแม้มันจะไม่ได้ดีเหมือนในหนังสือ แต่วิธีนี้ก็สามารถชนะตลาดได้ในระดับที่น่าพอใจ

    ลงทะเบียนรับความรู้การลงทุน passive

    รับความรู้การลงทุน passive ฟรี เพื่อเริ่มลงทุนอย่างสบายใจ กำไรอย่างยั่งยืน

    TAGS:

    Contributor